“ชลาชล” จัดหาทุนบูรณะ พระราชวังพญาไท – สร้างห้องประชุม วิทยาลัยพยาบาล กองทัพบก
เมื่อพูด “ความรักและความผูกพัน” นับว่า เป็นสิ่งล้ำค่าและเป็นที่จรรโลง กาย วาจา ใจ ของใครหลายคน ทำให้เกิดกิจกรรมหรือผลงานที่สร้างสรรค์ ดั่งเช่น “ดร.สมศักดิ์ ชลาชล” ผู้มีความรักและความผูกพันกับวิชาชีพช่างผม จึงได้สร้างแบรนด์ร้านทำผมไทย “ชลาชล” (CHALACHOL) ให้เป็นที่รู้จักทั้งลูกค้าชาวไทย และชาวต่างประเทศมาตลอดระยะเวลา 30 ปี อีกหนึ่งในความรักและความผูกพันของ “ดร.สมศักดิ์” นั่นคือ สถานที่ให้กำเนิด “โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า” ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน โดยเฉพาะอยู่ในเขตเดียวกับ “พระราชวังพญาไท” ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ในโอกาสวันคล้ายวันเกิด ๖๑ ปี ในปีนี้จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการจัดงาน “น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)” ณ พระราชวังพญาไท ในวันศุกร์ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๓๐ น. เป็นต้นไป เพื่อหาทุนในการบูรณะพระราชวังพญาไท และสร้างห้องประชุมมัทนะพาธา วิทยาลัยพยาบาล กองทัพบก ดร.สมศักดิ์ ชลาชล ประธานกรรมการบริษัทชลาชล จำกัด เผยว่า เมื่อ ๖๑ ปีที่แล้วเกิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เขตพื้นที่เดียวกันกับพระราชวังพญาไท ซึ่งถือเป็นพระราชวังแห่งเดียวที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และด้วยความเจริญของเมืองทำให้ผู้คนที่ผ่านไปมามองข้าม ไม่ทราบว่ามีพระราชวังแห่งนี้ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ จวบจนถึงรัชกาลที่๖ จึงต้องการที่อยากตอบแทนบุญคุณบ้านหลังนี้เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสใกล้วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๖ พรรษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวิชราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่๑๐ ให้พระราชวังพญาไทเป็นศรีสง่าของชาติสืบไป และที่สำคัญที่สุดในความเป็นครู นอกเหนือจากความต้องการที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดินแล้ว คืออยากจะสร้างคน หลังจากที่ได้รับเชิญจากพล.ต.หญิงดร.อังคณา สุเมธสิทธิกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาล กองทัพบกให้มาเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนพยาบาล ทำให้ทราบว่าสถาบันแห่งนี้เป็นสถาบันเดียวที่ผลิตพยาบาลให้กองทัพบก และ 37 โรงพยาบาลทั่วประเทศ ยังขาดอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ประชุม และเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนพยาบาล เงินที่กัลยาณมิตรทุกท่านได้ร่วมสมทบทุนในวันนี้ เปรียบเหมือนการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้คน 1 คน ได้กลับไปดูแลผู้คนอีกมากมาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ ที่จะทำให้ทุกท่านช่วยเหลือวิทยาลัยพยาบาลในโอกาสนี้ และโอกาสต่อๆไป จึงเป็นที่มาของการจัดงานในวันนี้ บรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความสวยงาม และรื่นรมย์ ทั้งการจัดตกแต่งสถานที่ซึ่งมีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แขกผู้มีเกียรติร่วมแต่งกายด้วยชุดไทยสมัยนิยม รัชกาลที่๖ เข้าเยี่ยมชมพระราชวังพญาไท และถ่ายภาพย้อนยุค ,การแสดงระบำกฤษดาภินิหาร จากโรงเรียนนาฏศิลป์ขาบมงคล ,การแสดงดนตรี Trio จาก วงดนตรีดุริยางค์ทหารบก ,ฟังเพลงจากนักร้องชื่อดังของเมืองไทยที่มาขับกล่อมบทเพลงในอดีตที่แสนไพเราะ อาทิ ดร.วินัย พันธุรักษ์ ,คุณโฉมฉาย อรุณฉาน (หรือ ดร.นิตยา อรุณวงศ์) ,คุณสุดา ชื่นบาน ,คุณชญานิตย์ ธรรมสาร และคุณไกรวิทย์ พุ่มสุโข , การแสดงจากคณะนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ณ บริเวณพระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท นอกจากนี้เจ้าภาพยังได้สร้างสรรค์เมนูอาหารคาวหวานและเครื่องดื่มสุดพิเศษ ร่วมกับคณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เป็นเครื่องว่างที่รัชกาลที่๖ ทรงโปรด และสื่อถึงบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ เพื่อต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ อาทิ ม้าฮ่อ เป็นตัวแทนพระนามที่ท่านทรงใช้เป็นพระราชทินนามในการเขียนบทประพันธ์ ว่า “อัศวพาหุ” เพราะม้า และอัสวะนั้น มีความหมายเดียวกันทีแปลว่า ม้าข้าวตังหน้าตั้ง เป็นตัวแทนของบทประพันธ์ ละครเรื่อง “หัวใจนักรบ” เปรียบเสมือน นักรบต้องเดินหน้าเพื่อไปสู่ชัยชนะช่อม่วง เปรียบเสมือนช่อดอกไม้หวาน สวยงาม อันเป็นตัวแทนของละครเรื่อง “วิวาห์พระสมุทร”หมูโสร่ง เปรียบเทียบเป็นละครเรื่อง “พระร่วง” เพราะ เปรียบเสมือนการมุ่นมวยผมที่ปั้นเป็นก้อนอยู่บนศีรษะ หรืออีกทีเหมือนการนุ่งโสร่งหยักรั้งของชายชาวขอม ในยุคนั้นไส้กรอกปลาแนม เป็นตัวแทนของบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ที่ไส้กรอกนั้น ผิวข้าวนอกเหลืองเกรียม แต่พอกัดไปไส้ข้างใน กลับเป็นอาหารว่างสีสวย และมีรสชาติอร่อยชวนรับประทานทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทอง เป็นขนมที่มาจากฝรั่งโปรตุเกส อันไม่ใช่ของไทย น่าจะเป็นตัวแทนของความเป็นต่างชาติต่างภาษาจากบทพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่อง “โรมิโอและจูเลียต” ขนมสัมปันนี เป็นตัวแทน บทพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่อง “เวนิสวาณิช” เพราะมีสีสันสวยงาม หวานหอมเปรียบเสมือนคนที่กำลังมีความรัก ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้นน้ำกุหลาบ ที่มีกลิ่นหอมหวน เป็นตัวแทนของพระราชนิพนธ์ เรื่อง “มัทนะพาธา” มาจากตำนานของดอกกุหลาบ บทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ ที่มีชื่อเสียง และเป็นอมตะตลอดกาลน้ำดอกอัญชันมะนาว เป็นตัวแทน บทละครพูดเรื่อง “เห็นแก่ลูก” เพราะถ้าเปรียบกับชีวิตคน น้ำอัญชันมีครบหมด ไม่ว่าจะเป็นสีสันสวยงาม ความหอม หวาน และเปรี้ยว ถ้าเปรียบชีวิตคน จะมีทั้งความสุข ความทุกข์ ความสดชื่น สลับกันไป การจัดงานในวันนี้นอกจากท่านผู้มีเกียรติจะมีความสุขกับทุกกิจกรรมที่เจ้าภาพรังสรรค์ขึ้นมาด้วยความละเมียดละไม แบ่งปัน และด้วยหัวใจของความเป็นเพื่อนสู่เพื่อนแล้ว ยังทำให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อันแสนงดงามไปพร้อมๆกัน และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะถูกถ่ายทอดส่งต่อให้กับเด็กรุ่นต่อไปได้สืบสานสิ่งที่ดีงามให้อยู่คู่กับประเทศไทยไปอีกตราบนานเท่านาน