กกพ. จับมือ PMG มอบรางวัลเยาวชนคนรุ่นใหม่ ตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ
ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ “โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” สร้างความรู้-คาวมเข้าใจ ประโยชน์ของพลังงานก๊าซชีวภาพ แก่ นิสิต นักศึกษา ในพื้นที่ 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค เป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่าง PMG กับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ในการทำโครงการส่งเสริมนักศึกษา 1,000 คน ให้ตระหนักถึงประโยชน์ของพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ สำหรับ “โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” จัดขึ้นโดย บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 26 โครงการผู้ได้รับทุนสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยทั้ง 26 โครงการ ร่วมกันขับเคลื่อนการสื่อสารภายใต้แนวคิด Clean Energy for Life : ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG7 พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ ของ สหประชาชาติ โดย“โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” เป็นการสื่อสารถึง พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ หรือ Biogas โดยงานแถลงข่าวปิดโครงการ จัดขึ้นวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานพร้อมมอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ชนะการประกวดบทความพร้อมภาพถ่ายและการประกวดผลิตคลิปสั้น ในหัวข้อ "โรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกับการพัฒนาชุมชนยั่งยืน" โดยผลงานที่ผ่านการคัดเลือก ได้รับการเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของโครงการ ทั้ง Website Facebook YouTube และ Twitter ภายใต้ชื่อ Biogasthailand เกิดการรับรู้เพื่อนำไปสู่การสื่อสารต่อสังคมใน วงกว้าง รวมถึงส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ พลังงานที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสื่อสาร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ภายใต้แคมเปญ “Clean Energy for Life” หรือ “ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” โดยมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน แคมเปญ Clean Energy for Life ขึ้นมา เพื่อให้คนไทยได้รู้และเข้าใจว่า เรามีพลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) พลังงานชีวภาพ (Bio-Energy) และพลังงานขยะ (Waste to Energy) ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการช่วยบรรเทาวิกฤตโลกร้อนที่นำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เปิดเผยว่า สำนักงาน กกพ. มีภารกิจหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมสังคมและประชาชนมีให้ความตระหนักรู้ และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า จึงสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อกิจการตามมาตรา 97(5) ประจำปี พ.ศ. 2563 ให้แก่ “โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” โดยมีบริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมเผยแพร่และส่งเสริมความรู้ด้านไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ภายใต้ แนวคิด “Clean Energy for Life ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน”
โดยทั้งนี้โครงการมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ผ่านกิจกรรมอบรมและการศึกษาดูงาน การสร้าง Content เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งจะเป็นการกระจายความรู้สู่สังคมในวงกว้างให้เข้าใจถึงประโยชน์ของพลังงานก๊าซชีวภาพ ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อภาวะโลกร้อน และตอบโจทย์กระแสสังคมโลกที่กำลังมุ่งเน้นการเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ฝากถึง เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชน คนรุ่นใหม่ ในเรื่องของการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดมีส่วนสำคัญมาก อยากให้คนกลุ่มนี้ ได้ตระหนัก เรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพลังงานสะอาด เพราะในอนาคตกลุ่มคนรุ่นใหม่เหล่านี้จะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อน พัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต” ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กล่าวปิดท้าย ด้าน นายผดุงศักดิ์ เหล่ากิจไพศาล ผู้อำนวยการ บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า PMG รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงาน กกพ. เลือกให้เป็นหนึ่งใน 26 โครงการ ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ต่อสังคม “โครงการผู้นำความคิดเพื่อความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ” เป็นโครงการที่มุ่งสร้าง ความรู้ ความเข้าใจในประโยชน์ของพลังงานก๊าซชีวภาพ นอกจากนำไปผลิตไฟฟ้าได้โดยที่ไม่สร้างมลพิษแล้ว ยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิดมากมาย จึงเกิดแนวคิดให้เยาวชน นักศึกษาที่ เข้าร่วมโครงการ ประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ประเภทบทความพร้อมภาพถ่ายและประกวดผลิตคลิปสั้น ในหัวข้อ "โรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกับการพัฒนาชุมชนยั่งยืน" เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่อบุคคลรอบข้างและในสังคมหรือชุมชนของตนเองต่อไป “น้อง ๆ นักศึกษาที่ได้เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มเยาวชน นักศึกษา ได้เห็นถึงความตั้งใจที่ได้นำเสนอผลงานอย่างเต็มความสามารถของนักศึกษา หวังว่าน้องๆ นักศึกษาในฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากโครงการนี้ และสามารถนำความรู้ แนวความคิด เพื่อบอกต่อสร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องด้านพลังงานไฟฟ้าที่จะเป็นพลังงานทดแทนในอนาคต ที่ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป” นายผดุงศักดิ์ กล่าวในท้ายสุด อย่างไรก็ดีจากการลงพื้นที่ตลอดโครงการ ได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพผ่านกิจกรรมอบรมสัมมนามอบองค์ความรู้เกี่ยวกับพลังงานก๊าซชีวภาพ พร้อมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน สถานที่จริง ในโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โดยผู้ผลิตและเจ้าหน้าที่ได้ให้ความรู้และความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตกับนักศึกษามากกว่า 1,000 คน ใน 4 ภูมิภาค 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการลงพื้นที่ให้ความรู้กับนิสิต นักศึกษา “ถือเป็นโครงการที่ดี ที่จะช่วยส่งเสริมให้ เยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้ตระหนักถึงคุณค่าของพลังงานสะอาดโดยเฉพาะ พลังงานก๊าซชีวภาพ ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้และเข้าใจดีนัก การถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็กและเยาวชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากโลกในอนาคตจะต้องพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางของการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะพลังงานก๊าซชีวภาพ ที่จะช่วยลดปัญหาและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการให้ความสำคัญกับสุขภาพ ซึ่งพลังงานก๊าซชีวภาพสามารถตอบโจทย์ได้ในทุกมิติ คาดหวังว่า นิสิตและนักศึกษาที่ได้รับการปลูกฝังความคิด และองค์ความรู้ด้านพลังงานก๊าซชีวภาพ จะเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นกำลังสำคัญในขับเคลื่อนการใช้พลังงานของสังคมไทยไปสู่การใช้พลังงานสะอาดได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน” รศ.ดร.ชัยศรี ธาราสวัสดิ์พิพัฒน์ คณบดีคณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน ในฐานะที่ปรึกษาของโครงการ โดยกิจกรรมการประกวดบทความพร้อมภาพถ่าย และกิจกรรมประกวดผลิตคลิปสั้น ในหัวข้อ "โรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกับการพัฒนาขุมชนยั่งยืน" มีผู้สนใจเข้าร่วมประกวดรวมทั้ง 2 กิจกรรมมากกว่า 380 ราย และการสร้าง Content เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มของโครงการ ภายใต้ชื่อ Biogasthailand ประกอบด้วย Website ที่มีผู้เข้าชมตลอดโครงการมากกว่า 188,000 UIP Facebook Fan Page มีผู้กดไลก์มากกว่า 53,000 ไลก์ Twitter มีผู้ติดตามมากกว่า 2,700 คน ขณะที่ YouTube มีผู้ชมมากกว่า 760,000 View รวมทุกแพลตฟอร์มมียอด Engagement มากกว่า 830,000 ครั้ง และมียอดการมองเห็นมากกว่าถึง 19,000,000 Reach” ขณะที่ นางสาวศิริมา ศรีสวัสดิ์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่เข้าร่วมโครงการและเป็นชนะการประกวดบทความ เปิดเผยถึงความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ว่า“รู้สึกดีมากและอยากขอบคุณโครงการดีๆ แบบนี้ ที่ทำให้หนูมีความรู้มากขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เกี่ยวกับก๊าซชีวภาพ ได้ทราบกระบวนการต่างๆ ที่กว่าจะเปลี่ยนของเสียมาเป็นพลังงานให้เราใช้ในทุกๆ วัน มีกระบวนการอย่างไร ซึ่งปกติแล้วหนูจะเรียนในเรื่องสายสุขภาพ จึงไม่ค่อยมีความรู้มากนักในเรื่องนี้ แต่เมื่อหนูได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆ ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น” กล่าว เมื่อถามถึงมุมมองของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อพลังงานก๊าซชีวภาพ นางสาวเขมนิจ อุมัน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ผู้ชนะการประกวดผลิตคลิปสั้น กล่าวว่า“คิดว่าเดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่ใช้แต่พลังงานจนลืมตระหนักถึงกระบวนการในการผลิตพลังงานว่ามีมีระยะเวลาในการผลิตพลังงานนาน ซึ่งตัวหนูตอนนี้มีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการทำให้รู้ว่าก๊าสชีวภาพมีประโยชน์มากกว่าที่คิด ไม่ควรใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองค่ะ”