Update Newsสังคม

กองทุนประกันสังคมแจงอนาคตสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน

วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น.นายแพทย์ชาตรี บานชื่น ประธานกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม เปิดเผยถึง ผลงานของคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคมที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 40/2558 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 นับตั้งแต่ 8 พฤศจิกายน 2558 ถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 2 ปี โดยคณะกรรมการการแพทย์ฯ ดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติประกันสังคม ในการกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในการรับบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน รวมถึงการให้คำปรึกษาและแนะนำในทางการแพทย์แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการอุทธรณ์และสำนักงาน 

ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการการแพทย์ได้มีการพัฒนาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ ทางการแพทย์โดยออกเป็นประกาศคณะกรรมการการแพทย์มาแล้วรวมกว่า 16 เรื่อง และได้มีการกำหนด ทิศทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ประกันตนเป็นหลัก โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้ ด้านการพัฒนา ปรับปรุง สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 

1. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คณะกรรมการการแพทย์ให้ความสำคัญในเรื่องการขยายความคุ้มครองในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างมาก ในขั้นแรกได้ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ให้สิทธิผู้ประกันตนเข้ารับบริการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิตามรายการ และเงื่อนไขที่กำหนด (อ้างอิงตามแนวทางการตรวจสุขภาพของกรมการแพทย์) โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 

ทั้งนี้ เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อให้ผู้ประกันตนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ การตรวจสุขภาพทำให้ทราบถึง ความผิดปกติของร่างกายที่สามารถรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกป้องกันมิให้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีความรุนแรงในอนาคต กระตุ้นผู้ประกันตนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน 2560 มีผู้ประกันตนเข้ารับบริการแล้วกว่า 451,611 คน สำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินค่าตรวจสุขภาพให้แก่สถานพยาบาลแล้ว เป็นจำนวนเงิน 242,120,535 บาท 

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงแค่การตรวจสุขภาพเท่านั้น คณะกรรมการการแพทย์ได้มีการวางระบบในเรื่องของการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานสถานพยาบาล เพื่อให้สถานพยาบาล ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกของสถานพยาบาล โดยมีเป้าหมายให้ผู้ประกันตนมีสุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต 
 

   

   

2. ขยายความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพ ขยายความคุ้มครองให้กับผู้ทุพพลภาพที่ระดับความสูญเสียไม่รุนแรงสำหรับผู้ประกันตนที่มีผลการประเมินการสูญเสียตั้งแต่ร้อยละ 35 ขึ้นไปแต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ทั้งนี้ไม่เกินระยะเวลา 180 เดือน มีผลตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2558 ซึ่งแต่เดิมกรณีทุพพลภาพจะให้สิทธิเฉพาะผู้ประกันตนที่สูญเสียสมรรถภาพตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปเท่านั้น พร้อมกับมีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีทุพพลภาพ นอกเหนือจากสิทธิในการรับบริการ ทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว คณะกรรมการแพทย์ได้ขยายสิทธิ ให้ผู้ทุพพลภาพมีสิทธิฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในสถานพยาบาลเอกชนที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมด้วยโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2560 
 

3. เพิ่มสิทธิกรณีเงินช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนหากผู้ประกันตนได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ทางการแพทย์ ในหลักการเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
 

4. เพิ่มสิทธิกรณีฟื้นฟูสมรรถภาพ ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ขยายสิทธิให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับการฟื้นฟูทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลและสถานพยาบาลเครือข่าย รวมทั้งปรับเพิ่มรายการอุปกรณ์และอวัยวะเทียมสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558  ด้านส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน 
 

5. ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม เพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณี อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน ให้แก่ผู้ประกันตน เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน จากเดิม 600 บาทต่อรายต่อปีเป็น 900 บาทต่อรายต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2559 และให้คำแนะนำแก่สำนักงานประกันสังคมในการทำความตกลงกับสถานพยาบาลที่ให้บริการทันตกรรม เพื่อให้ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน ปัจจุบันสถานพยาบาลที่ทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม