ก.เกษตรฯ ร่วมประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 42 สมัยพิเศษ
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย (SOM-AMAF Leader) พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้ าที่อาวุโสของการประชุมรัฐมนตรี อาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 42 สมัยพิเศษ (Special SOM-42nd AMAF) ที่จัดขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วม 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบข้ อเสนอผลลัพธ์ในปี 2565 ของสาขาคณะทำงานด้ านการเกษตรสาขาต่าง ๆ
โดยประเทศไทยได้ยกร่าง Guideline on sharing, access to and use of IUU fishing-related information เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประสานงานเครือข่าย AN - IUU ใช้ในการปฏิบัติงานการแลกเปลี่ ยนข้อมูลด้านการประมงที่รวดเร็ วและมีประสิทธิภาพ และเห็นชอบเอกสารของคณะทำงานด้ านเกษตรรายสาขา อาทิ คณะทำงานอาเซียนด้านอาหารฮาลาล คณะทำงานอาเซียนด้านปศุสัตว์ คณะทำงานอาเซียนด้านพืช คณะทำงานอาเซียนด้านประมง เป็นต้น ทั้งหมด 25 ฉบับ (endorsement) และรับทราบเอกสาร 4 ฉบับ (notation) สำหรับในด้านปศุสัตว์ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในกรอบ แผนยุทธศาสตร์การควบคุมป้องกั นโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) ภายใต้โครงการความร่วมมือ SEACFMD (South-East Asia and China Foot and Mouth Disease (SEACFMD) Roadmap 2021 - 2025) จึงนำเสนอต่อที่ประชุมว่าเห็ นสมควรผลักดันเกี่ยวกับการจั ดทำโครงการที่เป็นรู ปธรรมในการควบคุมป้องกันโรค FMD ในอาเซียนภายใต้กรอบแผนยุ ทธศาสตร์ดังกล่าว โดยครอบคลุมถึงโครงการหรือกิ จกรรมที่เกี่ยวข้องการควบคุ มโรคระบาดสัตว์อื่น ๆ ด้วย เช่น โรค Lumpy Skin Disease (LSD), African Swine Fever (ASF) เป็นต้น เพื่อให้อาเซียนได้ประโยชน์สู งสุด นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้ าวหน้าความร่วมมือกับประเทศคู่ เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมนี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น สาธาณรัฐเกาหลี รัสเซีย FAO, IRRI, World Bank และ OECD โดยประเทศไทยมีความร่วมมือกับ IRRI ในโครงการทดสอบสายพันธุ์ข้ าวจากสถาบันวิจัยข้าวระหว่ างประเทศภายใต้โครงการ ASEAN RiceNet (IRRI-bred advanced lines testing under ASEAN Rice NET project) เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่ า การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มี ความต้านทาน ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่ าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้านความมั่ นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยินดีให้ความร่วมมือกั บอาเซียนและประเทศคู่เจรจาเพื่ อพัฒนาด้านเกษตรและป่าไม้ในทุ กมิติ