Update Newsกระทรวงพลังงานธุรกิจธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“รองนายกฯ สุพัฒนพงษ์” มั่นใจ “อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค” เสริมแกร่งการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูง พัฒนาอุตสาหกรรม ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ

วันนี้ (29 ธ.ค.64) นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยี่ยมชม  อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค (EEC Automation Park) ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนากำลังคนด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์ ร้อมร่วมหารือ และติดตามความคืบหน้าการถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรภาคอุตสาหกรรม ยกระดับภาคการผลิตของประเทศไทย โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จาก สกพอ. และ ออโตเมชั่น พาร์ค เข้าร่วม ณ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี



ทั้งนี้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค ถือเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่าง อีอีซี และบริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริกเป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และดิจิทัล ที่จะเป็นฐานสำคัญ ขับเคลื่อนพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี ก้าวสู่โรงงานอัจฉริยะ ตอบโจทย์การพัฒนากระบวนการผลิตที่ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า สร้างทักษะแรงงาน อย่างเหมาะสมและคุ้มค่าต่อการลงทุน สร้างนวัตกรรมขั้นสูงแบบครบวงจร ตั้งแต่การสั่งสินค้า ผลิต และจัดเก็บสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติ ร่วมไปกับการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร เสริมทักษะด้านดิจิทัลเพื่อให้สามารถทำงานกับระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้จริง รวมทั้งยังครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตที่ทำได้จริง การหาแหล่งเงินเพื่อลงทุนจากภาครัฐ และการเป็นพื้นที่ทดสอบต้นแบบและนวัตกรรม (Sandbox) ของอีอีซี เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป



 

นอกจากนี้ อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จะยกระดับไปสู่ ศูนย์เครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร หรือ EEC-NET ด้านหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ และดิจิทัล เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสู่โรงงานอัจฉริยะ ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ อีอีซี จะได้รับความรู้ และเกิดการใช้ระบบสายการผลิตอัตโนมัติแบบดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี 5ที่ครอบคลุมในพื้นที่ อีอีซี 100% แล้วเพิ่มขึ้น เกิดบริการข้อมูลฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ในรูปแบบการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากบริษัทในกลุ่มพันธมิตรเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง

 

 

โดย อีอีซี ออโตเมชั่น พาร์ค จะสามารถฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะความชำนาญให้แก่บุคลากรที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะทักษะด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ได้มากกว่า 25 หลักสูตร โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาให้ได้ประมาณ 2,000 คน/ปี และภายใน 5 ปี จะเกิดบุคลากรที่ชำนาญ ได้สูงถึง 15,000 คน ยกระดับให้ไทยก้าวสู่ยุคใช้นวัตกรรมขั้นสูง และเกิดโรงงานอัจฉริยะ 4.0 อย่างต่อเนื่อง

สำหรับ การขับเคลื่อน อีอีซี ออโตเมชั่นพาร์ค จะสร้างความเชื่อมโยง Ecosystem เอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมพัฒนาและปรับตัวไปสู่โรงงานอัจฉริยะใช้นวัตกรรมนำการผลิต ดึงดูดเงินลงทุนนวัตกรรมขั้นสูงจากนักลงทุนทั่วโลก โดยคาดว่า การลงทุนด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เป็นเครื่องมือสำคัญให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต


ซึ่งคาดว่าใน 3 ปีข้างหน้า จะเกิดลงทุนสูงถึง 500,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท/ปี โดยปี 2565 ตั้งเป้าหมายให้โรงงานในอีอีซี เริ่มประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมสำรวจการออกแบบระบบและเชื่อมหาแหล่งทุนได้ไม่น้อยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะสามารถปรับสู่โรงงานอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก ยกระดับแรงงานไทยให้ชำนาญด้านนวัตกรรมขั้นสูง เกิดการจ้างงาน เงินเดือนและรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคง