หนาวนี้…ที่บนดอย ตามรอยภูมิวัฒนธรรม ตอนที่ 3 “มนต์เสน่ห์นี้ที่ผาหมอน” เชียงใหม่
นับตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้มีการกำหนดนโยบายชาวเขาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2519 ใช้นโยบายรวมพวก มาเป็นแนวทางในการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา “เพื่อให้ชาวเขาเป็นพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้” และใช้การพัฒนาแบบเขตพื้นที่โดยระบบสมบูรณ์แบบ (Zenal Integrated Development) รูปแบบการพัฒนาที่เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดินตามความลาดชันในพื้นที่ลุ่มน้ำ (Watershed Area) มาพัฒนาคุณภาพชีวิตและหยุดยั้งการทำไร่เลื่อนลอย เปลี่ยนมาเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบถาวร ให้ชาวเขาตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง กรมประชาสงเคราะห์ (ปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) จึงจัดตั้งกองสงเคราะห์ชาวเขา ศูนย์วิจัยชาวเขา ศูนย์พัฒนาชาวเขาจังหวัดต่างๆขึ้น (ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูงจังหวัด) และส่งหน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเคลื่อนที่ออกไปปฏิบัติงานตามหมู่บ้านชาวเขาในถิ่นทุรกันดาร ส่งผลให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีชาวเขาหรือราษฎรบนพื้นที่สูงมากที่สุดในประเทศ 349,118 คน และเป็นจังหวัดที่มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมากที่สุดถึง 146,635 คน กะเหรี่ยงในประเทศไทย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยงสะกอหรือปกาเกอะญอ กะเหรี่ยงโปร์ กะเหรี่ยงบะเว และกะเหรี่ยงปะโอหรือตองสู้ ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมักตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขา ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าว ปลูกพืชผักต่างๆ เช่น ทำนาดำ การทำไร่หมุนเวียน และเลี้ยงสัตว์ การสืบทอดเชื้อสายมาทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก เมื่อแต่งงานฝ่ายชายต้องย้ายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิง ครอบครัวของกะเหรี่ยงยังยึดถือระบบ ผัวเดียวเมียเดียว “บ้านผาหมอน” หมู่บ้านกะเหรี่ยงปกาเกอะญอ คำว่า “ปกาเกอะญอ” เป็นชื่อเรียกตัวเองของกะเหรี่ยงกลุ่มสะกอมีความหมายว่า “คนที่มีศักดิ์ศรี มีศักยภาพ และมีวัฒนธรรมที่ดีงาม” หมู่บ้านเล็กๆบนดอยอินทนนท์แห่งนี้ยังคงความงดงามตามธรรมชาติ มีพิธีกรรมความเชื่อ “ป่าสะดือ” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเคารพและหวงแหนธรรมชาติ ป่าสะดือเป็นสายใยระหว่างชาวปกาเกอะญอตั้งแต่แรกเกิดจนตาย โดนพ่อจะนำรกหรือสะดอของเด็กใส่กระบอกไม้ไผ่ไปผูกติดไว้กับไม้ไผ่ หรือผูกติดไว้กับต้นไม้ที่สมบูรณ์ที่สุด ต้นไม้นี้เรียกว่า “เดปอทู่” หรือ ป่าสะดือ ต้นไม้ต้นนี้ห้ามผู้ใดมาตัดหรือโค่นลง เชื่อว่าจะทำให้เจ้าของรกเจ็บป่วย และจากความเชื่อนี้ส่งผลให้บริเวณป่าสะดือ จึงมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณไม้หายากต่างๆ กุศลบายอันฉลาดของบรรพบุรุษชาวปกาเกอะญอ ทำให้เกิดคำพูดที่ว่า “ปกาเกอะญออยู่ที่ไหน ป่าอยู่ที่นั่น” นอกจากป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์แล้ว หมู่บ้านผาหมอนแห่งนี้ยังมีบ้านน้อยโฮมสเตย์ไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว บรรยากาศรอบๆโฮมสเตย์รายล้อมไปด้วยนาขั้นบันได ท่านจะลองศึกษาเส้นทางท่องเที่ยววิถีชาวนา เส้นทางธรรมชาติบริเวณผาดอกเสี้ยว น้ำตกวชิรธาร เยี่ยมชมธนาคารข้าวพระราชทาน และเรียนรู้พร้อมลิ้มรสอาหารชนเผ่า โปรโมชั่นพิเศษช่วงเดือนธันวาคม 2561 - กุมภาพันธ์ 2562 แพ็กเกจท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน ปกติคนละ 1,500 บาท ลดเหลือ ดังนี้
-
2 คน 2,700 บาท
-
3 – 4 คน 3,500 บาท
-
5 – 6 คน 4,000 บาท
-
7 คนขึ้นไป 4,500 บาท
ขอเชิญชวนผู้ที่มีใจรักการท่องเที่ยวเชิงอัตลักษณ์ตามวิถีธรรมชาติ ลองมาสัมผัสความงดงาม วิถีสโลว์ไลฟ์ของพี่น้องชนเผ่าปกาเกอะญอที่บ้านผาหมอน การท่องเที่ยวที่ไม่ใช่เป็นแค่การท่องเที่ยว แต่เป็นการสร้างรายได้และสวัสดิการให้แก่ชุมชน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และจุดประกายการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณองอาจ คามคีรีวงศ์ การท่องเที่ยวชุมชนบ้านผาหมอน (องค์กรสาธารณประโยชน์) 08 1166 4344 โปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน วันที่ 1
-
รู้จักชุมชนวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีของบ้านผาหมอน
-
สาธิตการตำข้าวของปกาเกอะญอ
-
เรียนรู้กระบวนการการทอผ้าและการจักรสาน
-
ทัวร์รอบชุมชนชมจุดชมวิวของหมู่บ้าน/ธนาคารข้าวพระราชทาน เรียนรู้การทำขนมพื้นบ้านชนเผ่าปกาเกอะญอ
-
เข้าพักบ้านโฮมสเตย์
-
รับประทานอาหารเย็น ณ บ้านพักโฮมสเตย์ (อาหารพื้นบ้านชนเผ่า)
-
กลางคืนชมการแสดงการละเล่นเตหน่าและการรำดาบ
วันที่ 2
-
รับประทานอาหารเช้า
-
รู้จักเส้นทางท่องเที่ยววิถีชาวนาก่อนเดินทางท่องเที่ยว
-
เดินป่าเส้นทางท่องเที่ยววิถีชาวนา (เรียนรู้การทำนาขั้นบันได/การเลี้ยงผีฝาย/พิธีกรรมเกี่ยวข้องกับ การทำนา/พันธุ์ข้าวผาหมอน/พันธุ์ข้าวพระราชทาน/ชมวิถีปกาเกอะญอกับนาข้าว/เรื่องเล่าไม้ไผ่/ การจัดการน้ำโดยชุมชน/สมุนไพรในชุมชน
-
รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารพื้นบ้านชนเผ่าปกาเกอะญอ)
-
ศึกษาเส้นทางธรรมชาติบริเวณผาดอกเสี้ยว/น้ำตกวชิรธาร
-
ซื้อของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ณ บ้านผาหมอน
-