กระทรวงคมนาคม เดินหน้ารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 ต่อแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง
นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็
นายอธิภู จิตรานุเคราะห์ กล่าวว่า จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการจั ดตั้ง “องค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนิ นงานโครงการรถไฟความเร็วสูง” โดยกำหนดให้เป็นองค์กรอิ สระจากการกำกับกิ จการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้มีโครงสร้างองค์กรที่มี ความคล่องตัวและเหมาะสมสำหรั บดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็ วสูง รวมทั้งกำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการสนับสนุน ทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณ โดยไม่เป็นภาระผูกพันต่ องบประมาณของรัฐ สามารถวางแผนและควบคุมให้ โครงการสามารถดำเนินการได้อย่ างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิ ดขึ้นในอนาคต
โดยจากการศึกษาการดำเนิ นงานขององค์กรรถไฟความเร็วสู งในต่างประเทศ พบว่า โดยทั่วไปมีการแบ่งความรับผิ ดชอบของการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1.การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การก่อสร้างทางรถไฟ สถานีรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงรับผิดชอบภาระทางการเงิ นในการก่อสร้างและเป็นเจ้ าของโครงสร้างพื้นฐาน
2.การบริหารจัดการและบำรุงรั กษาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย การบริหารจัดการและบำรุงรั กษาทางรถไฟ สถานีรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงจัดตารางการเดินรถ
3.การเดินรถ ประกอบด้วย การจัดการถจักรล้อเลื่อน การบำรุงรักษารถจักรล้อเลื่อน การให้บริการเดินรถ การจำหน่ายตั๋ว และทำการตลาด
ซึ่งจากการศึกษาตัวอย่างองค์ กรรถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศ พบว่า รูปแบบที่เหมาะสม คือ รูปแบบแยกเป็นหน่วยงานที่ดู แลการก่อสร้าง กับหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริ หารจัดการและบำรุงรักษาโครงสร้ างพื้นฐาน และเดินรถ โดยมีรูปแบบโครงสร้างรายละเอี ยดดังนี้
1.หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้แก่ กรมการขนส่งทางราง
2.หน่วยงานที่รับผิดชอบในการก่ อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และขอรับการสนับสนุนทางการเงิ นจากรัฐ ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยรับหน้าที่ก่อสร้างและเป็ นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐาน
3.หน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิ จการบริหารจัดการ บำรุงรักษา และให้บริการเดินรถ แสวงหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยให้จัดตั้งเป็นบริษัทจำกั ดในสังกัดกระทรวงคมนาคม (สามารถปรับเป็นบริษัทมหาชน ได้ในอนาคต) โดยหน่วยงานนี้ มีขอบเขตหน้าที่ และแนวทางในกานดำเนินกิจการ ดังนี้ 1.ได้รับสิทธิในการใช้โครงสร้ างพื้นฐานที่รัฐสร้างขึ้น ทั้งโครงการที่กำลังพัฒนา และโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2.ดำเนินกิจการได้ทั้งในรู ปแบบเดินรถเอง จ้างเดินรถ หรือให้สิทธิเอกชนเดินรถในรู ปแบบ PPP 3.ธุรกิจสามารถดำเนินการได้ โดยการดำเนินการเอง หรือร่วมทุนกับภาคเอกชนเพื่อจั ดตั้งบริษัท จ้างเอกชนดำเนินการ หรือให้สิทธิหรือสัมปทานแก่ เอกชน
ซึ่งรูปแบบดังกล่าวมีจุดเด่น คือ 1.มีความคล่องตัว 2.มีความยืดหยุ่น รองรับการพัฒนาในอนาคต 3.ปรับตัวให้สอดคล้องกั บสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 4.สามารถควบคุมนโยบายของภาครัฐ 5.เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่ วมในการพัฒนาระบบ
ทั้งนี้ ภายหลังการสัมมนาในครั้งนี้ กระทรวงคมนาคม จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาประกอบผลการศึกษาโครงการเพื่ อให้การจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่ อกำกับการดำเนิ นโครงการรถไฟความเร็วสูง มีความเหมาะสม ลดภาระงบประมาณของรัฐได้ ซึ่งถือเป็นความมุ่งมั่ นของกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการเดินหน้าขับเคลื่ อนการพัฒนาระบบด้านอุ ตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย