“กรมการข้าว – อบก.” เซ็นต์เอ็มโอยู “สยาม ซิลิกา” เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว
วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว มอบหมายให้ นายอานนท์ นนทรีย์ รองอธิบดีกรมการข้าว เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว ระหว่าง กรมการข้าว และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ร่วมกับ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), พ.อ.ธนพล ภักดีภูมิ กรรมการ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด และ มร.แอนดูวร์ เมอร์เรย์ (Mr. Andrew Murray) กรรมการ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ณ อาคาร 4 เจ เลขที่ 29 ซอยพหลโยธิน 3
นายอานนท์ นนทรีย์ รองอธิบดีกรมการข้าว เผยว่า ก๊าชมีเทน (methane) เป็นก๊าซเรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 80 เท่า และไม่น่าเชื่อว่านาข้าวทั่วโลกได้ปล่อยก๊าซมีเทนมากถึง 100 ล้านตันต่อปี ในจำนวนนี้นาข้าวของไทยปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศถึง 3.32 ล้านตันต่อปี ดังนั้นเพื่อผลักดันให้ไทย เข้าถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ. 2065-2070 (พ.ศ. 2608-2613) หรืออีก 46 ปีข้างหน้า และลดลงอย่างน้อย 20% ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในปี พ.ศ. 2580
ข้าวมีความสำคัญทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตาม วิถีการทำนาแบบดั้งเดิมโดยการขังน้ำในนาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการสะสมของก๊าซมีเทน ซึ่งจัดเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 28 เท่า จากรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change)
กรมการข้าว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน จึงได้ร่วมมือกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด เพื่อความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว ให้ดียิ่งขึ้น
ด้าน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประธานกรรมการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า ในฐานะที่ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นหน่วยงานรับรองโครงการคาร์บอนเครดิต ที่เรียกว่า “โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย” หรือ โครงการ T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) รวมถึง การรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ทั้งในระดับผลิตภัณฑ์ (ฉลาก CFP: Carbon Footprint of Product) และระดับองค์กร (ฉลาก CFO: Carbon Footprint of Organization) เป็นต้น
ทั้งนี้ ภาคการเกษตร ถือว่าเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวไทย ที่เป็นหนึ่งในสินการเกษตรส่งออกหลัก มีการปล่อยก๊าซมีเทนในปริมาณที่สูงจากวิธีการทำนาปลูกข้าวแบบดั้งเดิม ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีในการทำนาปลูกข้าว และการปรับวิธีการใช้ปุ๋ย จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การทำนาปลูกข้าวของไทย สามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนลงได้ ทำให้ข้าวไทยที่มีคุณภาพสูงในตลาดค้าข้าวของโลกเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จะเป็นข้าวที่มีการปล่อยก๊าซมีเทนต่ำในกระบวนการเพาะปลูกอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการผลิตและการบริโภคแบบคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน สำหรับการค้าระหว่างประเทศในยุคโลกร้อนนี้
อบก. มีความพร้อมทางวิชาการ และมีความยินดีอย่างยิ่ง ที่จะให้การสนับสนุนด้านวิชาการ ร่วมกับ กรมการข้าว และ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิธีการทำนาปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำนี้ ไปสู่ การรับรองคาร์บอนเครดิต ตามมาตรฐานโครงการ T-VER รวมถึง การได้รับฉลากรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน CFP จาก อบก. ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และผลประโยชน์ทางการค้าสำหรับสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก ให้แก่ ข้าวไทย ตลอดจน ไปถึง เกษตรกร และชาวนา ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีการทำนาปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำ ดังกล่าว
นอกจากนี้ แนวทางการทำนาปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำ ยังเป็นหนึ่งในมาตรการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และ เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065 อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย
พ.อ.ธนพล ภักดีภูมิ กรรมการ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ว่า เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน ระหว่าง กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ บริษัท สยาม ซิลิกา เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมทางการเกษตรกรรม สำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าว รวมทั้งพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในนาข้าว โดยใช้ปัจจัยการผลิตภายในประเทศร่วมกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าว รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บคาร์บอนในดิน และลดการใช้ปุ๋ยเคมี ตลอดจนลดการใช้น้ำทางการเกษตร รวมถึงส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตและเพิ่มผลตอบแทนให้เกษตรกรมีรายได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
Mr. Andrew Murray, Director Siam Silica Fertiliser added, “This strategic partnership underscores Thailand’s commitment to adopting advanced agricultural innovations and soil amendment technologies. The initiative centers around GreenCal Si, an innovative soil enhancement product, co-designed between Australia and Thailand to boost soil carbon sequestration, reduce chemical fertiliser usage, and conserve water. The project aims to enhance crop yields and quality, generate carbon credits, and provide substantial economic benefits to farmers. By integrating cutting-edge sustainable farming practices, this initiative will help Thai farmers achieve higher productivity and profitability. At the same time, it aligns with Thailand’s ambitious climate goals, driving significant reductions in greenhouse gas emissions and progressing towards net-zero targets. This dual approach of improving agricultural outcomes and combating climate change positions Thailand as a leader in global sustainability efforts.”
Thailand has been at the forefront of climate action, with robust policies to reduce carbon emissions and promote environmental sustainability. This initiative builds on the nation’s strong framework and showcases a willingness to embrace innovative solutions for improving the environment and the agricultural sector. The partnership will spearhead efforts to develop and implement sustainable farming practices, validate the environmental benefits of GreenCal Si, and create verified soil carbon credits. These credits will not only subsidize the cost of the product for farmers but also open new revenue streams through carbon trading markets. As we embark on this transformative journey, we invite media, stakeholders, and the global community to follow our progress and witness the creation of a sustainable, prosperous future for Thai farmers and the environment.