นิทรรศการ “ความงามของโอกาส” ให้โอกาสผู้พ้นโทษกลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง
เนื่องในโอกาสครบรอบ 11 ปี ของการรับรองข้อกำหนดสหประชาชาติ ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง หรือ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) จัดแสดงนิทรรศการศิลปะ “ความงามของโอกาส” เพื่อบอกเล่ามุมมองการให้โอกาสผู้ก้าวพลาดในการกลับคืนสู่สังคม ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 22 – 26 ธันวาคม 2564 โดย ดร.พิเศษ สอาดเย็น ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) หน่วยงานภายใต้กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ มีส่วนสำคัญในการร่วมกันผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนผู้พ้นโทษในการกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน นับเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการอนุวัติข้อกำหนดกรุงเทพ หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศที่ทั่วโลกยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ต้องขังหญิง โดยข้อกำหนดดังกล่าวได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
นิทรรศการศิลปะภายใต้หัวข้อ “ความงามของโอกาส” คือส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เพื่อสื่อสารประเด็นปัญหานี้สู่สาธารณชน โดยถ่ายทอดประสบการณ์ เรื่องราว และมุมมองของศิลปินและนักออกแบบเกี่ยวกับประชากรในรั้วเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองเกี่ยวกับคุณค่าของบุคคล ศักยภาพ อิสรภาพ ความเท่าเทียม และความสำคัญของการให้โอกาสผู้ก้าวพลาดในรูปแบบต่าง ๆ จากสังคม ที่จะช่วยให้ผู้ต้องขังสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้อย่างสง่างามอีกครั้ง
โดยงานนิทรรศการ “ความงามของโอกาส” ครั้งนี้ได้รวบรวมผลงานศิลปะและงานออกแบบ 6 แขนง ที่สะท้อนถึงมุมมองและแรงบันดาลใจของ 7 ศิลปิน ประกอบด้วย ผลงานภาพถ่าย “โอกาสที่งดงาม” โดย นายนพพล ชูกลิ่น , ผลงานภาพวาดสีอะคริลิก “Call Me by My