InterviewUpdate News

GIT จัดประกวดออกแบบอัญมณี เฟ้นหาดีไซเนอร์ประดับวงการ

คุณ ดวงกมล เจียมบุตร 

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GIT 

เมื่อไม่นานมานี้ เวปไซต์ บีทริปนิวส์ ได้มีโอกาส เข้าร่วมสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GIT คุณดวงกมล เจียมบุตร ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานใหญ่ ไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ทั้งเรื่องของการจัดการประกวดการออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 13 และการประกวดพลอยเจียระไน เพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือประดับในวงการและนำไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการออกแบบในระดับโลกต่อไป นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร อีกด้วย สถานที่ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับแบบครบวงจรอีกด้วย ตามบีทริปนิวส์ไปพบกับ ผอ.สถาบันฯ กันเลยดีกว่า



 บทบาทของสถาบันฯ ต่อเศรษฐกิจไทย 

 ผอ. GIT กล่าวถึงบทบาทและความสำคัญของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต่อเศรษฐกิจไทยว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และมุ่งผลักดันให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่บุคคลในอุตสาหกรรมอัญมณี อันเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจการค้าของประเทศ สร้างงานและรายได้ ทั้งคนคัดพลอย ช่าง-เจียระไนอัญมณี ช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ บรรจุภัณฑ์ ประกันภัย โลจิสติกส์ เป็นต้น







อัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นสินค้าสำคัญที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศได้สูงเป็นอันดับ 3 ในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมด เมื่อรวมกับมูลค่าการค้าภายในประเทศด้วยแล้ว ก่อให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศถึงปีละเกือบ 1 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 6% ของจีดีพี (แบ่งเป็นส่งออก 4 แสนล้าน การบริโภคในประเทศ 6 แสนล้าน) อีกทั้งยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานกว่า 7 แสนคนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ( 79% สำหรับการค้าส่งค้า-ปลีกและ 21% ในการออกแบบและซ่อมแซมอัญมณีและโลหะมีค่า การทำเหมืองและการเจียระไน )  



ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับราวอันดับที่ 14 ของโลก

ปี 2561 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (รวมทองคำ) รวม 11,976.10 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.74 ของสินค้าส่งออกโดยรวม ขยายตัวลดลง  - 6.62 %

ปี 2562 เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2562 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (รวมทองคำ) มูลค่า 4,605.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.54 ของสินค้าส่งออกโดยรวม ขยายตัว - 9.98% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีมูลค่า 5,116.38 ล้านเหรียญสหรัฐ  

เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพรองรับอุตสาหกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เปิดหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอย่างครบวงจร ได้แก่ การอบรมด้านอัญมณีศาสตร์ โลหะมีค่า การตลาด และ การออกแบบ ผ่านการให้บริการจากศูนย์ฝึกอบรม (Training Center)

สถาบันเป็นความสำคัญของการพัฒนาด้านออกแบบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในห่วงโซ่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้เป็นจำนวนมาก และนอกจากนี้ยังสามารถช่วยยกระดับการยกระดับผู้ประกอบการจากการเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิต (OEM) สู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีรูปแบบสินค้าของตนเอง (ODM) และผู้ประกอบการที่มีแบรนด์เป็นของตนเอง (OBM) ได้อีกด้วย และ มีความประสงค์ การพัฒนาช่างเจียระไนไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อัญมณีและเครื่องประดับไทย

วัตถุประสงค์ในการจัดงานประกวด



และเมื่อถามถึงวัตถุประสงค์การจัดการประกวดออกแบบเครื่องประดับครั้งที่ 13 และ การประกวดพลอยเจียระไน ผอ. GIT กล่าวว่า การจัดงานประกวดจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในด้านการออกแบบและการเจียระไนสร้างช่องทางในการพบปะกันระหว่าง นักออกแบบ และ ผู้ประกอบการ



การประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 13 นี้ ภายใต้หัวข้อ  "Blue by Day, Green By Evening, Red by Night” เน้นการออกแบบเครื่องประดับที่มีอัญมณีน้ำเงิน อัญมณีสีแดง หรือ อัญมณีสีเขียว เป็นองค์ประกอบหลักในชิ้นงาน

การประกวดพลอยเจียระไน แบ่งเป็น 2 ประเภท สำหรับช่างเจียระไนพลอยในจังหวัดจันทบุรี และช่างเจียระไนจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการเจียระไนรวมถึงช่างเจียระไนได้มีโอกาสพัฒนาฝีมือให้เข้าสู่วงการมาตรฐานระดับโลก

โดยการประกวดทั้งสอง มีเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท หรือ 35,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมโล่เกียรติยศ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ อาทิ นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักออกแบบมืออาชีพ สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 1 สิงหาคม 2562 

และตัดสินรอบคัดเลือกในเดือนสิงหาคม 2562 โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากวงการอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะคัดเลือก 30 ผลงานออกแบบ และ 8  ชิ้นงานที่ได้คะแนนสูงสุดไปผลิตเป็นเครื่องประดับจริง โดยการประกวดแบ่งออก 9 รางวัล คือ รางวัลประเภทเครื่องประดับที่ใช้พลอยทับทิบ หรือพลอยไพลิน หรือพลอยเนื้ออ่านในเฉดสีที่ใกล้เคียง จำนวน 4 รางวัล รางวัลประเภทเครื่องประดับที่ใช้พลอยเพริโด หรือพลอยเฉดสีใกล้เคียง จำนวน 4 รางวัล และรางวัลประเภท Popular Design Award 2019 จำนวน 1 รางวัล

สำหรับการประกวดพลอยเจียระไน ผู้เข้าแข่งขันสามารถส่งพลอยที่เจียระไนแล้วมายังสถาบันได้ท่านละไม่เกิน 2 เม็ด โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันสามารถใช้พลอยสังเคราะห์ หรือพลอยเนื้ออ่อน  โดยไม่จำกัดสี และจำนวนเหลี่ยมเจียระไน ขนาดความยาวพลอยประมาณ 25 มิลลิเมตร โดยเจียระไนเป็นรูปทรง Cushion

สถาบันกำหนดจัดงานตัดสินรอบชิงชนะเลิศทั้งสองประเภท ในเดือน กันยายน 2540 และจัดงานประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดออกแบบเครื่องประดับ และประกวดพลอยเจียระไน พร้อมด้วยนิทรรศการแสดงผลงานของผู้เข้าประกวด ภายในงานแสดงสินค้า “เทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2019

ความสำเร็จของดีไซด์เนอร์รุ่นที่ผ่านมา 

ผอ. ดวงกมล กล่าวถึงตัวอย่างดีไซน์เนอร์ที่เข้าร่วมการประกวดของสถาบัน และประสบความสำเร็จ ว่า ตั้งแต่ปี 2550 – ปัจจุบัน มีที่ผ่านสถาบันได้การจัดประกวดไปแล้ว 12 ครั้ง สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่นักออกแบบที่เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก เช่น นางสาวสุพัจนา ลิ่มวงศ์ ผู้ชนะเลิศการประกวดในปี 2018 ภายใต้หัวข้อ The Pearl of Wisdom – Illumination from under the Surface ที่ปัจจุบันสามารถก่อตั้งแบรนด์ La Orr Ornaments ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องประดับร่วมสมัยระหว่างโลหะมีค่าและผ้าไหม



นางวิชุดา แตระพรพาณิชย์ ผู้ชนะเลิศการประกวดในปี 2013 ภายใต้หัวข้อ Cubism จากการเป็นแม่บ้านและนักออกแบบอิสระ ปัจจุบันได้เปิดธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของตนเอง ในชื่อแบรนด์ Wida Jewelry เป็นงานเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองฝังอัญมณีแท้ ซึ่งมีการออกบูธทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น งาน Mega Show 2018 ณ ประเทศฮ่องกง และงาน Tokyo Fashion World 2019 ณ ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

....................

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

ภายหลังจากการเปิดโอกาสให้ บีทริปนิวส์ ได้สัมภาษณ์ถึงการประกวดดังกล่าว ผอ. ยังได้เดินพาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับที่ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ พร้อมเชิญชวนผู้ที่สนใจ เข้าเยี่ยมชมอีกด้วย



พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับแบบครบวงจร โดยมีแนวคิดให้ผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้ตั้งแต่เรื่องการกำเนิดของอัญมณี ไปจนถึงเมื่ออัญมณีได้อยู่คู่กับตัวเรือนโลหะมีค่า กลายเป็นเครื่องประดับที่มีมูลค่าสูงในที่สุด









การจัดแสดงโซนต่างๆ แบ่งเป็น  โซน A : การกำเนิด และเหมืองพลอยในประเทศไทย โซน B : ประเภทอัญมณี

โซน C : เพชร โซน D : การเจียระไนและการทำเครื่องประดับ โซน E : อัญมณีอินทรีย์ โซน F : อัญมณีสังเคราะห์

โซน G : เหมืองทองและโลหะมีค่า โซน H : เครื่องประดับตามสมัยนิยม

ห้อง Theatre : จัดแสดงวิดิทัศน์ และจัดแสดงอัญมณีเรืองแสง นอกจากนี้ยังติดตั้งคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอน (Computer Aided Instruction) สำหรับการศึกษาด้วยตนเองไว้ภายในห้องแสดงนิทรรศการอีกด้วย





>>>>>>>>

พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ

อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500

โทรศัพท์ : 0 2634 4999 ต่อ 312

เว็บไซต์ : http://www.git.or.th/2014/museum_information.html

อีเมล : jthawatchai@git.or.th

วันและเวลาทำการ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 - 17.00 น.

(ปิดวันเสาร์ - อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศของสถาบันฯ)

ค่าเข้าชม

นักท่องเที่ยวต่างชาติ 200 บาท

คนไทยผู้ใหญ่ 80 บาท

นักเรียน, นิสิตนักศึกษา 20 บาท (ในเครื่องแบบหรือแสดงบัตร)

*เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี, พระภิกษุ, ผู้พิการ และมัคคุเทศก์ (แสดงบัตรประจำตัวที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) เข้าชมฟรี*

การเดินทาง

โดยรถประจำทางสาย 15, 34, 36, 76, 77, 115, 504, 547

สถานีรถไฟฟ้า BTS : สถานีศาลาแดง หรือ สถานีช่องนนทรี


ติดตามชมคลิป เชิญชวนประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 13 ได้ที่ https://youtu.be/NVjWyGcTNmY