SACICT โชว์ผลงาน ความร่วมมือ 3 ฝ่าย กับโครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรรม (Craft Co-Creation)
SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรม“สรุปผลการดำเนินโครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรม (Craft Co-Creation)” ในวันจันทร์ที่ 3 กันยายน 2561 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 2 อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) โดยมีคุณอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ เป็นประธาน และคุณแสงระวี สิงหวิบูลย์ รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ คุณเพ็ญศิริ ปันยารชุน ผู้จัดการสายงานยุทธศาสตร์ และรักษาการผู้จัดการสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์และศักยภาพ ร่วมงาน โดยมี แนวทางการพัฒนาต่อยอดโครงการจากตัวแทนจากกลุ่มเข้าร่วมโครงการ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักออกแบบ คุณศรันย์ เย็นปัญญา คุณเฉลิมพงศ์ อ่อนยอง ดร.กฤษณ์ เย็นสุขใจ และคุณศุภชัย แกล้วทนงค์ กลุ่มผู้ประกอบการ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด (Exotic Thai/สยามพารากอน) ร้าน Room Concept Store บริษัท ดินไฟ จำกัด และบริษัท บันยันทรีโฮลดิ้ง จำกัด นอกจากนี้ ภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์ไทยที่ได้จากโครงการกว่า 30 ผลงาน และ เปิดเวทีระดมความคิดเห็นในเรื่องของเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์จากแต่ละกลุ่มชุมชน แนวทางการพัฒนา งานรูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในปัจจุบัน การต่อยอดผลิตภัณฑ์หัตถกรรมสู่ตลาดสากล ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ นักออกแบบ และชุมชน ผอ.อัมพวัน กล่าวว่า โครงการร่วมรังสรรค์ศิลปหัตถกรรม หรือ Craft Co-Creation เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนา งานหัตถกรรมของ SACICT ที่ต้องการพัฒนางานหัตถศิลป์ไทยให้สอดรับกับยุคปัจจุบันและเตรียมความพร้อมเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถแข่งขันได้ในอนาคต โดยเกิดจากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ รวมถึงทักษะการผลิต การหาช่องทางการตลาดใหม่ๆระหว่างบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูช่างศิลปหัตถกรรม นักออกแบบ และผู้ประกอบการ มุ่งหมายให้เกิดการทำงานร่วมกันตั้งแต่กลุ่มคนด้านการผลิตจนถึงด้านการตลาด ซึ่งทำให้ผู้ผลิตได้ทำงานร่วมกับนักออกแบบ มองว่านักออกแบบเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างสูงด้านการตลาด เรียกว่าเปลี่ยนมุมมองความคิดของการทำงานของชุมชน เรานำกลุ่มผู้ประกอบการ ค้าขาย งานหัตถกรรมมาทำงานตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้การออกแบบและการผลิตสอดคล้องกับการตลาด การทำงานนี้ถือเป็นการตอบโจทย์การทำงานคราฟท์เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง คาดหวังให้งานที่ผ่านการพัฒนาขององค์กร ไม่ว่าจะทำงานกับชุมชน นักออกแบบหรือใครก็ตามสามารถไปถึงตลาดได้อย่างจริงจังและมีผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นต้นแบบในการจำหน่ายต่อป เพื่อให้ชุมชนมั่นใจว่า การพัฒนาโดยนำองก์ความรู้มาต่อยอดนี้ ก่อให้เกิดโอกาสทางการตลาดตลอดเวลา ผอ.อัมพวัน กล่าวต่อไปว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งสี่ภาคที่นำไปพัฒนากับชุมชน เริ่มจากโจทย์ที่ว่า กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดคือใคร เช่นกลุ่มบันยันทรี กลุ่มเดอะมอลล์ เมื่อเรารู้ตลาดแล้ว ก็รับสมัครกลุ่มผู้ทำงานหัตถกรรมซึ่งเป็นสมาชิกของศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศฯ อาจจะเป็นครูช่าง ทายาท หรือชุมชนก็เป็นการแมชกัน เป็นการแมชกันระหว่างกลุ่มผู้ที่ต้องการพัฒนาและกลุ่มที่อยากเห็นชิ้นงานเหล่านั้น ส่วนใหญ่นักออกแบบที่มาร่วมงานเป็นกลุ่มที่ได้รับรางวัล ICA ของ SACICT อยู่แล้ว มีความคุ้นเคยกับงานหัตถกรรม ดังนั้นเมื่อสามหน่วยมาเจอกันก็จะเป็นการผสมผสานทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือเป็นกลุ่มผ้าทอดั้งเดิมของชนเผ่า เบญจรงค์ภาคกลาง งานจักสานภาคกลางและภาคใต้ ในการทำงานช่วงแรกอาจมีปัญหาบ้าง เนื่องจากคนทำงานหัตถกรรมในชุมชนจะคุ้นเคยกับงานแบบเดิมๆ แต่เราได้นำนักออกแบบและกลุ่มผู้ซื้อลงพื้นที่ไปด้วย ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน โดยการทำงานจะทำต้นแบบออกมาเพื่อวิเคราะห์ ทั้งต้นแบบ รายละเอียดของเนื้องาน มีการปรับปรุงการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ “สิ่งที่ต้องการจริง ๆ คือทำอย่างไรให้ชุมชนเข้าใจว่า การนำเอาแนวความคิดหรือนวัตกรรมทางความคิดหรือการคิดนอกกรอบ เป็นหัวใจของการพัฒนางานหัตถกรรม โดยใช้องค์ความรู้ที่เขามีเป็นตัวตั้ง” BENJAMIN COLLECTION หนึ่งในผลิตภัณฑ์จากภาคกลาง ผลงานการออกแบบ ของ ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบอุตสาหกรรม นำมาถ่ายทอดผ่านทางงานออกแบบให้มีความเรียบง่าย เป็นระเบียบ การวางลวดลายซ้ำๆ คล้ายเครื่องจักร โดยยังคงเทคนิคการวาดมือ การนำองค์ความรู้ดั้งเดิมเรื่องการทำเบญจรงค์มาต่อยอดในการออกแบบ สร้างให้เกิดลวดลายและประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังสะท้อนถึงวิถีชุมชน ด้านนางณิฐ์ภาวรรณ แตงเอี่ยม ทายาทครูช่าง กล่าวถึงขั้นตอนงานว่า การใช้สีซึ่งไม่หนักเกินไปเป็นสีพาสเทล ซึ่งเหมาะกับสมัยปัจจุบันวัยรุ่นทั่วไปหาซื้อได้ แต่ยังคงการลงสีโดยใช้พู่กันตามแบบสมัยร.2 โดยนำลวดลายของลายเทพพนมนรสิงห์ ซึ่งเป็นลายเริ่มแรกของเบญจรงค์และนำช่อไฟ ซึ่งอยู่ในลวดลายเทพพนมนรสิงห์มาทำให้ดูมีช่องว่างขึ้นไม่แน่นจนเกินไป และได้นำน้ำทองซึ่งมีมาในสมัยร.5 มาใส่ลายช่อไฟ เป็นการผสมผสานอย่างลงตัวบนสีที่ก่อให้เกิดความอบอุ่นและอ่อนหวานขึ้น ส่วนโถลายคุ้กกี้เป็นการทำสีลงบนใต้เคลือบ นำเทคนิคการลงลายครามใต้เคลือบมาเขียนลาย แต่ฉีกแนวคือไม่ต้องไปเผาเคลือบ ทำให้ได้งานดูธรรมชาติ และลงลายสิ่งของเช่นโถชิ้นนี้เขียนลายคุ้กกี้ลงบนโถ เป็นการบ่งบอกว่า โถนั้นกำลังถูกใช้บรรจุอะไร ด้าน เซ็ทลายสับปะรด ปกติที่เห็นโดยทั่วไปเป็นเทคนิคการลงสีใต้เคลือบ แต่เบญจรงค์ลงบนเคลือบ งานนี้ได้นำเอาลายสัปปะรดของลายครามมาใส่บนเบญจรงค์ โดยใช้เทคนิคการเคลือบเสร็จแล้ววาดสีเบญจรงค์เพื่อให้เกิดความนูนของสี และมาใส่ลายซึ่งใหญ่ขึ้นฉีกแนวลายสัปปะรดเดิม และยังสามารถเขียนลายน้ำทองวนขอบให้สวยขึ้นซึ่งถ้าเป็นลายครามจะไม่สามารถลงน้ำทองได้อีก ทำให้งานล้อลายสัปปะรดของลายครามดูสวยงามมากขึ้นด้วยสีนูนและลวดลายของทอง ส่วนผลิตภัณฑ์งานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คอลเลคชั่น ไทเลย โดยเฉลิมพงศ์ อ่อนยอง เป็นการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในภูมิปัญญากลลุ่มจักสานไทเลยมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยและการใช้ชีวิตประจำวัน อาทิ โคมไฟ กระจกตั้งโต๊ะ