SACICT โชว์ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมวัฒนธรรมร่วม สืบสานงานลงรักประดับมุก ต่อยอดตลาดสากล
ศิลปหัตถกรรมงานลงรักประดับมุก มรกดศิลป์ที่กำลังจะสูญหาย ศูนย์ส่งเสริมศิลปชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จึงได้จัดนิทรรศการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในวัฒนธรรมร่วม “Cross Cultural Crafts Project” โชว์ผลิตภัณฑ์เครื่องมุกฝีมือครูช่างจากประเทศไทยและประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อนุรักษ์สืบสานคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย ต่อยอดเชิงพาณิชย์สู่ระดับสากล ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ และอนุรักษ์สืบสานคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งต่อยอดเชิงพาณิชย์สู่ระดับสากล เพื่อให้ชุมชนกินดีอยู่ดี อย่างยั่งยืน จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า ซึ่งเป็นเสมือนผลผลิตของชาติที่มีคุณค่า ควรมีการบำรุงรักษามิให้เสื่อมสลายและสืบทอดให้คงอยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ชนรุ่นหลัง จึงได้สานต่อโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts) เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยการดำเนินงานในปีนี้ภายใต้แนวคิด “Revival of the Forgotten Heritage หรือการฟื้นฟูมรดกศิลป์ ภูมิปัญญาที่ถูกลืม” เพื่อให้การพัฒนางานมีความต่อเนื่อง การดำเนินโครงการในปีนี้งานหัตกรรมที่ถูกเลือกให้นำมาต่อยอด คือ งานเครื่องมุก ซึ่งเป็นหนึ่งในงานศิลปหัตกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่กำลังจะสูญหาย และเป็นอีกทักษะในงานศิลปหัตถกรรมที่สมควรต้องมีการสืบทอดและพัฒนาต่อยอดทั้งในเชิงองค์ความรู้และเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คงอยู่สืปไป งานช่างประดับมุกเป็นศิลปหัตถกรรมชั้นสูง ที่มีความวิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน และความมานะอุตสาหะเป็นอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้น นับเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าแขนงหนึ่ง และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นส่วนช่วยสืบสานงานหัตถกรรมแขนงนี้ต่อไป SACICT จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตกรรมในวัฒนธรรมร่วม (Cross Cultural Crafts) ด้านงานเครื่องมุก ร่วมกับครูช่างจาก 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี อย่างไรก็ตาม ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ได้คัดเลือกครูช่างจาก 2 ประเทศ ได้แก่ คุณจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2558 ผู้สืบสานงานลงรักประดับมุก คุณแดง แจ่มจันทร์ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2559 (งานลงรักประดับมุข) ผศ.สิลัง สุพวงแก้ว ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2556 (งานลงรักปิดทอง) คุณพัชรา ศิริจันทร์ชื่น ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2557 (ช่างเคื่องรัก) คุณวัฒนา แก้วดวงใหญ่ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2557 (ช่างเครื่องหัวโขน) และคุณเกษมสันต์ ยอดสง่า นักออกแบบจาก Innovative Craft Award 2017 เป็นตัวแทนจากประเทศไทย ร่วมด้วย คุณ Kim Young Jun และ คุณ Lee Yei Jin ครูช่างงานลงรักประดับมุกจากสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีการทำงานเครื่องมุกของแต่ละประเทศ โดยการเดินทางไปศึกษาดูงานที่สาธารณรัฐเกาหลี และประเทสไทย พร้อมจัดทำชิ้นงานจำนวน 27 ชิ้น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน คุณจักรกริศษ์ สุขสวัสดิ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม พ.ศ.2558 ผู้สืบสานงานลงรักประดับมุก กล่าวถึงชิ้นงานที่นำมาจัดแสดงว่า ได้แรงบัลดานใจจากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความร่วมมือระหว่างครูช่างทั้งสองประเทศ โดยใช้แถบริบบิ้นสามเส้รเป็นสื่อ ผูกลายให้มีดอกไม้ประจำท้องถิ่นของทั้งสองประเทศ ประดับตกแต่งบนแถบริบบิ้น ใช้เปลือกหอยจากสองประเทศ โดยผสมเทคนิคการฉลุลาย และเส้นตรงลายเลขาคณิต เพื่อประดับบนชิ้นงานทรงกลม จึงออกมาเป็นผลงาน 3ชิ้น ได้แก่ จานกลมลายดอกบัวและดอกบ๊วย จานกลมลายดอกบัว และจานกลมลายดอกบ๊วยและทิวทัศน์ของเกาหลี ทั้งนี้ การดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในวัฒนธรรมร่วม “Cross Cultural Crafts Project” เป็นการเผยแพร่งานศิลปหัตถกรรมด้านงานเครื่องมุกให้แก่ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมแขนงนี้ต่อไป โดยได้จัดนิทรรศการเพื่อจัดแสดงชิ้นงานของโครงการ ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 11-18 สิงหาคม