ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย จัดงาน “Thailand Halal Assembly 2019” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ ปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด Algorithmic Touch of Halal เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาฮาลาลอย่างเป็นระบบรอบคอบที่จะนำไปสู่การสร้าง halal blockchain และการจับคู่ธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2019 กล่าวว่า ในเวลานี้ กลับมาอีกครั้งกับงานฮาลาลที่กล่าวได้ว่าดีที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กับ การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly” หรือ THA ซึ่งจัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย โดยปีนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สำหรับงาน “Thailand Halal Assembly 2019” การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ ระหว่างวันที่ 20 – 22 ธันวาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กรุงเทพฯ
ภายใต้แนวคิด Algorithmic Touch of Halal เป็นกระบวนการสร้างรูปแบบการพัฒนาฮาลาลอย่างเป็นระบบรอบครอบที่จะนำไปสู่การสร้าง Halal Blockchain และการจับคู่ธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ โดยได้รับเกียรติจาก นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 20 ธันวาคม 2562 และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ศักยภาพฮาลาลประเทศไทย”
การจัดงาน THA มาตลอด 6 ปี ทำให้เราตระหนังถึงการขาดแคลนการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ ซึ่งคอนเซปต์แนวคิดของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อบ่งบอกให้ประชาคมโลกให้ได้รับรู้ว่าการดำเนินการธุรกิจ สร้างฐานทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งนั้นต้องการเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบ คิดไตร่ตรองอย่างรอบครอบ ซึ่งประเทศไทยจะถือว่าเป็นประเทศที่นำเสนอ Halal Blockchain ประเทศแรกของโลก และจะเป็นต้นแบบให้กับการประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศที่เป็นมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม เฉกเช่นที่เราเคยเป็นต้นแบบด้าน “ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” จนทั่วโลกให้การยอมรับมาแล้ว
ซึ่งภายใน การประชุมวิชาการและการแสดงสินค้าฮาลาลนานาชาติ “Thailand Halal Assembly” ประกอบไปด้วย งานประชุมวิชาการนานาชาติ HASIB ครั้งที่ 12, งานประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล, นิทรรศการ “Social Enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม, กิจกรรมจับคู่ธุรกิจภิวัฒน์, การสร้างเครือข่ายการรับรองฮาลาล ประเทศไทย, การประชุมประชาพิจารณ์มาตรฐานฮาลาล
และส่วนสำคัญที่ผู้ร่วมงานไม่ควรพลาดเด็ดขาด !!! Thailand International Halal Expo 2019 หรือ THIHEX 2019 งานแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลทั้งไทยและต่างชาติกว่า 341 บูท ทั้ง ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร, ผลิตภัณฑ์คอสเมติกส์, การท่องเที่ยว, โลจิสติกส์ และการเงินการธนาคาร รวมถึงไฮไลท์พิเศษที่จะรวมรวมมัสยิด 33 มัสยิด เอาผลิตภัณฑ์ของชุมชนในมัสยิดมานำเสนอ ที่จะทำให้ผู้ร่วมงานได้ ชิม ช้อป ใช้กันอย่างสนุกสนาน และยังเป็นการรวมกลุ่มกันระหว่าง ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ 33 มัสยิดในการทำกิจกรรม “Social Enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม เพราะ “มัสยิด” คือ สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ โดยจะต้องมีละหมาดทุกวันศุกร์ รวมถึงเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม
แต่ในทางปฏิบัติ มัสยิดไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ที่ใช้เพียงแต่ปฏิบัติศาสนากิจ แต่มัสยิดยังเปรียบเสมือนหัวใจของชุมชน เป็นศูนย์กลางในการรวมสมาชิกหรืออาจเรียกว่า สัปปุรุษประจำมัสยิด เพื่อการดูแลและรับผิดชอบคุณภาพชีวิตต่อสมาชิกในชุมชน ทั้งในเรื่องการให้การศึกษาเยาวชน การแต่งงาน การหย่าร้าง การดูแลความสงบปลอดภัยของคนในชุมชน รวมไปถึงการเสียชีวิตและการจัดการมรดกอีกด้วย
โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินงานด้านกิจการเพื่อสังคม ในการเริ่ม “โครงการ SMEs HERO in town” เพื่อพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ให้ความรู้และเข้าไปให้คำปรึกษาเชิงลึกในการผลิตสินค้า หรือบริการฮาลาล รวมถึงการส่งเสริมการตลาด แก่ผู้ประกอบการกิจการขนาดเล็กหรืออาจเร็ยกได้ว่าระดับ Micro SMEs เพื่อหวังให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง จากการมีผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงและท้ายที่สุดสามารถส่งออกสินค้าไปยังนอกชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ในชุมชนตนเอง ส่งผลให้ปัญหาความเหลื่อมล้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันลดลงได้ในที่สุด
โดยโครงการดำเนินงานไปแล้ว 5 ชุนชนภายใต้ความร่วมมือจากอิหม่าม คอเต็บ และกรรมการประจำมัสยิด คือ มัสยิดอัลอิสตีกอมะห์, มัสยิดบางหลวง, มัสยิดดารุ้ลอะมาน เพชรบุรีซอย 7, มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน (บ้านสมเด็จ), มัสยิดนูรุ้ลหุดา (ตลาดมดตะนอย) และกำลังจะเริ่มโครงการ SMEs HERO in town กับมัสยิดอื่นๆ ให้ครบทั้ง 33 มัสยิดภายในปี 2563 นี้
และสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสอบถามข้อมูล หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่ 02-218-1053 และ www.Thailandhalalassembly.com , Facebook : Thailand Halal Assembly รศ.ดร.วินัย กล่าวปิดท้าย
Post Views: 66