เหล่านักกีฬาและแฟนตั วยงของการแข่งขันกีฬาชนิดต่างๆ คงเคยได้รับข่าวสารนักกีฬาเกิ ดภาวะหัวใจล้มเหลว วูบเสียชีวิตคาสนามแข่งขันกีฬา หรือแม้กระทั่งคนทั่วไปที่ สามารถเกิดเหตุการณ์เดียวกันนี้ ได้ในขณะออกกำลังกาย ซึ่งทุกคนสามารถป้องกันไม่ให้ เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้ วยการตรวจเช็กหัวใจเป็นประจำอย่ างสม่ำเสมอและครบทุ กรายการตามคำแนะนำของแพทย์ เฉพาะทางด้านหัวใจ
นพ.อนุสิทธิ์ ทัฬหสิริเวทย์ อายุรแพทย์หัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า สถิติของประเทศสหรัฐอเมริการะบุ ว่า อาการวูบคาสนามทำให้นักกีฬามี โอกาสเสียชีวิตถึง 1 ใน 50,000 คนต่อการแข่งขันกีฬาระดับวิ ทยาลัยและอาจจะสูงถึง 1 ใน 5,000 คนในการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล โดยในนักกีฬาที่อายุมากกว่า 35 ปีมีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิ ตมากถึง 5% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุและมั กพบในนักกีฬาผู้ชายมากกว่าผู้ หญิง
โดยสาเหตุที่ทำให้นักกีฬาเกิ ดอาการวูบกลางสนามมีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น 1) กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ซึ่งป็นโรคที่พบได้ในนักกี ฬาอาชีพ เกิดจากการหนาตัวของกล้ามเนื้ อหัวใจห้องซ้ายล่างที่มีหน้าที่ สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย หรือเกิดได้จากความผิดปกติทางพั นธุกรรม 30% และจะพบได้มากในนักกีฬาผิวดำ โดยหากตรวจเจอว่ามีพังผืดในชั้ นกล้ามเนื้อหัวใจแล้วลงแข่งกี ฬาหนัก ๆ อาจเกิดแรงกระตุ้นให้หัวใจเต้ นผิดจังหวะและเพิ่ มโอกาสในการเสียชีวิตแบบ Sudden Death ได้
เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้ นมา จะไปขัดขวางระบบการไหลเวี ยนของเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หั วใจทำงานหนัก และถ้านักกีฬาไม่ทราบมาก่อนว่ าตนเองมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา แล้วต้องลงแข่งกีฬาเป็นเวลานาน ๆ และออกแรงมาก ๆ จะส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหั วใจวายแบบฉับพลันจนวู บกลางสนามได้
2) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นอันตรายรุนแรง จึงทำให้เป็นข้อห้ ามในการออกกำลังกาย เพราะอาจกระตุ้นให้หัวใจห้องล่ างซ้ายเต้นผิดจังหวะและหยุดเต้ นได้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชี วิตขณะออกกำลังกายได้สูง 3) หัวใจเต้นผิดจังหวะขณะออกกำลั งกาย เพราะการแข่งขันในแต่ละครั้งต้ องใช้เวลานาน ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่ จนส่งผลให้ระบบไฟฟ้าหัวใจเสี ยสมดุลและเกิดภาวะหัวใจเต้นผิ ดจังหวะตามมา
ในบางกรณีคือไม่เคยทราบมาก่อนว่ าตนเองมีภาวะหัวใจผิดปกติ โดยเฉพาะในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ทำให้ละเลยการตรวจเช็กสุขภาพหั วใจ รู้ตัวอีกทีอาจสายเกินไป
ในการออกกำลังกายจะมีการจั ดโซนจากเบาที่สุดไปจนถึงหนักที่ สุด โดยแต่ละโซนจะมีอัตราการเต้ นของหัวใจสูงสุดต่อนาที ( MPHR) ที่แตกต่างกัน การที่เรารู้ลิมิตของแต่ ละโซนจะทำให้สามารถเลื อกการออกกำลังกายที่ เหมาะสมและดีต่อสุขภาพหัวใจได้ Zone 1 50 - 60% MPHR (Very Light) คือการออกกำลังกายเพื่อช่วยฟื้ นฟูร่างกายให้แข็งแรง จะไม่รู้สึกเหนื่อยมาก Zone 2 60 - 70% MPHR (Light) การออกกำลังกายเพื่อเพิ่ มความแข็งแรง ช่วยดึงไขมันออกจากร่างกาย ดีต่อหัวใจและปอด Zone 3 70 - 80% MPHR (Moderate) ช่วยระบบเผาผลาญ เพิ่มความฟิต เหงื่อออกมาก เหมาะกับคนรักสุขภาพที่ชื่ นชอบการออกกำลังกาย Zone 4 80 - 90% MPHR (Hard) ช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่กล้ ามเนื้อ เพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลั งกาย เกิดการหายใจเร็ว กล้ามเนื้อตึงล้ามาก เหมาะกับนักกีฬาหรือคนทั่วไปที่ ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ ามเนื้อ Zone 5 90 - 100% MPHR (Maximum) การเพิ่มศักยภาพในการออกกำลั งกาย ทำให้รู้สึกเหนื่อย หายใจเร็ว กล้ามเนื้อเกิดการตึงล้า เหมาะกับนักกีฬาที่ฝึกซ้อมเพื่ อเตรียมตัวลงแข่งขัน
การตรวจเช็กความฟิตของนักกีฬาก่ อนลงแข่งมีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยป้องกันอาการวู บคาสนามและหัวใจล้ มเหลวขณะออกกำลังกายได้ โดยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น 1) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ( EKG - Electrocardiogram) เป็นการคัดกรองความผิดปกติของหั วใจ ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้ นในกล้ามเนื้อของหัวใจ ทำให้สามารถลดการเสียชีวิตในกลุ่ มของนักกีฬาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีได้ถึง 90%
2) การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่ งสายพาน ( Exercise Stress Test) จะทำให้ทราบระบบไหลเวียนเลื อดและกราฟไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลั งกาย ซึ่งจะช่วยคัดกรองโรคหลอดเลื อดหัวใจตีบตันในระยะที่มากกว่า 70% ได้
3) ตรวจหัวใจด้วย MRI (Magnetic Resonance Imaging) แสดงการบีบตัวของหั วใจได้ใกล้เคียงอวัยวะจริงมากที่ สุด สามารถแสดงตำแหน่งทางเดินของเส้ นเลือดหัวใจว่าอยู่ในตำแหน่งที่ ถูกต้องหรือไม่ ที่สำคัญคือ ใช้ในการตรวจค้นหาภาวะกล้ามเนื้ อหัวใจอักเสบ ตรวจหาพังผืดในโรคกล้ามเนื้อหั วใจหนาตัว เพื่อป้องกันหัวใจเต้นผิดจั งหวะขณะออกกำลังกาย
4 ) ตรวจหาคราบหินปูนหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary Calcium Scan: CAC) เป็นการประเมินความเสี่ ยงการเกิดโรคกล้ามเนื้อหั วใจขาดเลือดที่มีสาเหตุ จากหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ที่มี อายุ 40 ปีขึ้นไป
และในทุกการแข่งขันผู้จั ดควรเตรียมอุปกรณ์การช่วยชีวิ ตให้พร้อม โดยเฉพาะเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้ าชนิดอัตโนมัติ ( Automated External Defibrillator: AED) อุปกรณ์ที่ช่วยช็อกไฟฟ้ากระตุ กหัวใจเพื่อหยุดการเต้นของหั วใจที่ผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นในจั งหวะที่ถูกต้อง และควรมีเจ้าหน้าที่ที่ สามารถทำการช่วยชีวิตได้ทันที หากมีเหตุฉุกเฉินขณะทำการแข่งขั น
The injured footballer lies on the pitch.
ซึ่งการช่วยเหลือจะต้องถูกวิธี และอยู่ระหว่าง 3 - 5 นาที เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต ซึ่งก่อนช่วยเหลื อควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมว่ าปลอดภัยหรือมีความเสี่ยงหรื อไม่ โทรสายด่วน 1669 หรือรถพยาบาลสนามที่มีเครื่อง AED เพื่อทำการช่วยเหลือ โดยเริ่มจากการเรียกผู้ป่วยฉุ กเฉิน ถ้าไม่มีการตอบสนองให้ทำการฟื้ นคืนชีพโดยกดหน้าอกทันทีจนกว่ าเครื่อง AED หรือทีมรถพยาบาลจะมาถึง
สำหรับนักกีฬาอาชีพสิ่งสำคัญคื อการตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำ เสมอทุกปีเพื่อให้มั่นใจว่าร่ างกายพร้อมที่จะลงแข่ง โดยเฉพาะการตรวจเช็กสุขภาพหั วใจเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยอย่ างเด็ดขาด ส่วนคนที่ชื่นชอบการออกกำลั งกายควรตรวจเช็กสุขภาพทุกปี ที่สำคัญหมั่นสังเกตความผิดปกติ ของร่างกายจะได้พบแพทย์ได้ทันท่ วงที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ รพ .หัวใจกรุงเทพ โทร . 02-310-3000 โทร .1719 หรือ HEART CARE LINE Official : @hearthospital
Post Views: 40