ม.ภาคฯ จัดประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7
ผศ.ดร.กนกอร บุญมี อธิการดีมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยภายในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้กำหนดจัดการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7ภายใต้หัวข้อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมยุค Next Normal : การเปลี่ยนผ่านจากภาวะปกติใหม่ The 9th National and the 7th International Conference on Research and Innovation Development for the Next Normal Society: Transition from the New Normal โดยใช้รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบออนไลน์ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้บริหารจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตรกรรม รวมไปถึงคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและต่างประเทศได้มาร่วมแลกเปลี่ยนและร่วมนำเสนอผลงาน ผ่านการประชุมแบบออนไลน์ตามรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤติโควิด-19 สะท้อนให้เห็นเทรนด์สำคัญ ๆ ในอนาคตที่เกิดจากพฤติกรรมและทัศนคติในการดำรงชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะการเปิดรับเทคโนโลยี บริการดิจิทัลใหม่ ๆ รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบาย โดยมุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นำไปสู่เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ next normal ที่จะเริ่มขยายตัวในวงกว้าง พร้อมทั้งมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและระบบเศรษฐกิจในอนาคต “มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ร่วมมือกับสถาบันเจ้าภาพร่วม ให้มีการจัดประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ จึงจัดงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ เพื่อช่วยให้ผลงานวิจัยทั้งหลายนี้เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของการพัฒนาโลกของเรา และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจของโลกให้เจริญก้าวหน้าหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ได้เริ่มคลี่คายลงแล้ว ซึ่งรูปแบบการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยทางออนไลน์แบบโลกเสมือนจริง เป็นการเพิ่มพูนคุณภาพงานวิจัยและเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงความรู้ประสบการณ์ระหว่างนักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการร่วมกัน มุ่งสู่การสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยและนวัตกรรมสู่สังคมยุคใหม่นิวนอมอล Next Normal โดยลักษณะของงานวิจัยที่นำเสนอ แยกเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และผู้ที่สนใจทั้งในและต่างประเทศ,ผลงานวิทยานิพนธ์ / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ระดับปริญญาโท – ปริญญาเอก ของนักศึกษาระดับและบัณฑิตศึกษาสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ โดยในปีนี้มีการเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ในรูปแบบ Metaverse Conference เพื่อให้สอดคล้องกับยุคและวิถีดิจิทัล”ผศ.ดร.กนกอร กล่าวต่ออีกว่า ขณะเดียวกันยังคงมีการแบ่งกลุ่ม งานวิจัยและวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ ทั้งระดับชาติ และนานาชาติ ได้แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ด้านการศึกษา (ED) เช่น การบริหารการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษาและนวัตกรรมทางการศึกษา,ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (HS) เช่น พยาบาลศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์,ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ST) เช่น วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี, ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HSS)
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
เช่น นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ รัฐศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์ และนิเทศศาสตร์,ด้านบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ (BE) เช่น บริหารธุรกิจ การจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม และเศรษฐศาสตร์ และ ด้านเกษตรกรรมและการประมง (AF) โดมีสถาบันเจ้าภาพร่วมจัดประชุมฯ จำนวน 39 สถาบันทั้งในและต่างประเทศ และมีผู้ส่งบทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 109 บทความ